การสร้างทีมงานที่ดี

การสร้างทีมงานที่ดี

ในภาวการณ์ปัจจุบัน คงไม่มีใครที่ไม่ยอมรับว่า การทำงานเป็นทีมนั้นดี เพราะการทำงานเป็นทีมเป็นการนำ ความรู้ความสามารถของที่แตกต่างกันมาผสมผสานให้ทีมมีความสมบูรณ์ สามารถดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

การทำงานเป็นทีมที่ดี จะต้องดึงศักยภาพของคนในทีมออกมาเป็นพลังความคิด พลังกาย พลังความมุ่งมั่น  เพื่อให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร อาจจะเรียกได้ว่า “หลากหลายความรู้หลายหลายความสามารถ”  ไม่มีใครสมบูรณ์ที่สุด ไม่มีใครดีที่สุด เราทำงานคนเดียวไม่ได้เพราะความยากง่ายของงานประการหนึ่ง ความซับซ้อนของงานประการหนึ่ง  ความเกี่ยวเนื่อง หรืองานมีส่วนเกี่ยวข้องกันประการหนึ่ง และที่สำคัญ เราต้องทำงานกับคนที่ที่มีความแตกต่างกันทั้งความรู้ความคิด ภูมิหลัง  ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ทั้งในหน่วยงานเดียวกันและต่างหน่วยงาน การสร้างทีมงานที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

การสร้างทีมงานที่ดีได้นั้น ทีมต้องมีองค์ประกอบของการทำงานที่สำคัญคือ ความพอใจในงาน  ความรักในงาน  การอุตสาหะในงาน การตริตรองงาน การมีเป้าหมายร่วมกัน ถ้าเป็นไปได้เป้าหมายคุณ เป้าหมายผม เป้าหมายองค์กร เป้าหมายลูกค้าเป็นเป้าหมายเดียวกัน ความสำเร็จของทีมน่าจะไม่ไกลเกินจริง  เพราะทุกคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความเข้าอกเข้าใจ การเสียสละ และความมุ่งมั่นของทีมจะทำให้ทุกคนไปถึงเป้าหมาย แต่นั้นก็ตาม การที่ทุกคนจะไปในแนวทางเดียวกัน การสื่อสารก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ กำจัดอุปสรรคของการสื่อสารให้หมดไปหรือให้น้อยที่สุดให้ได้ การสร้างทีมงานที่ดีจะเกิดขึ้น

การสร้างทีมงานที่ดี ได้นั้น บรรยากาศในหน่วยงานต้องอบอุ่น มีความเป็นมิตร ถือหลักเหตุหลักผล ถือประโยชน์ของส่วนร่วมมากว่าส่วนตน การยอมรับความสามารถของกันและกันเชื่อในศักยภาพของแต่ละบุคคล เก่งมากกว่ากัน เก่งน้อยเก่งมาก  ไม่สำคัญ ทุกคนสามารถพัฒนาได้

การสร้างทีมงานที่ดี ภาวะผู้นำของคนในทีม มีส่วนผลักดันให้ทีมมีความเข็มแข็ง การผลัดเปลี่ยนการเป็นผู้นำ การให้โอกาสสำหรับคนในทีมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ จะพัฒนาให้สมาชิกในทีมมีความเชี่ยวชาญ และความรู้ในงานมากขึ้นเป็นลำดับ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดการฝึกทักษะ ซึ่งจะมีผลดีต่อการสร้างทีมที่เราทุกคนมุ่งหวัง

การสร้างทีมงานที่ดี

          เราจะสร้างทีมงาน(ที่ดี) ให้เกิดประสิทธิผลได้อย่างไร นักวิชาการ และผู้รู้ ยืนยันหรือพูดเสียงเดียวกันว่า ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 สิ่งด้วยกัน สิ่งแรก ก็คือ ผู้นำ และผู้นำที่จะสร้างทีมงานที่ดี และมีประสิทธิผลนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียบพร้อม มีวิจารณญาณ และตัดสินใจ รวมทั้งบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ  สิ่งที่สอง ที่จะ สร้างให้ทีมงานที่ดีได้ คือ กฎเกณฑ์ในการทำงาน (Ground Rules) อันว่ากฎเกณฑ์ ในการทำงานนี้ ก็ต้องมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะ ความเหมาะสมขององค์ประกอบของทีมงาน ซึ่งได้แก่ จำนวนคน ภูมิหลังของแต่ละคน  ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่สมาชิกได้สะสม หรือผ่านมา เป็นต้น
          การสร้างทีมงานที่ดี นอกจากที่กล่าวข้างต้นส่วนที่สนับสนุนให้ทีมมีความแข็งแกร่งมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้
  1. ช่วยให้มี Time Control สมาชิกของทีมจะต้องสามารถบอกได้งานของตนจะแล้วเสร็จเมื่อไร โดยเฉพาะการแก้ปัญหาที่แต่ละคนพบจากการทำงาน
  2. สมาชิกในทีมต้องไวต่อความรู้สึก ของเพื่อนร่วมงาน สามารถรู้อากัปกิริยาที่แสดงออก ว่าเพื่อนสมาชิกต้องการอะไร พอใจหรือไม่พอใจ รู้นิสัยใจคอ ซึ่งจะช่วยให้ลดปัญหาความเข้าใจผิด เกิดความเข้าใจอันดี สร้างความไว้วางใจ
  3. บรรยากาศทำงานที่ผ่อนคลาย Relaxed Atmosphere ไม่เคร่งเครียด การทำงานเป็นแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย หลีกเลี่ยงการติดต่ออย่างเป็นทางการ เน้นความเป็นพี่เป็นน้อง ซึ่งมีผลในการติดต่อสื่อสารการประสานงาน ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการสร้างทีมงานที่ดี
  4. ทุกคนต้องมีข้อมูล ต้องเตรียมข้อมูล โดยเฉพาะหากต้องมีการประชุม (ทำการบ้านเป็นอย่างดี) ทั้งนี้เพื่อนำมาแลกเปลี่ยน นำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนและตัดสินใจของทีมงาน ดังนั้นทุกคนต้องรู้สำนึกรับผิดชอบหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่
  5. ต้องคัดคนที่มีคุณภาพเข้าทีม เรียกว่าสมาชิกต้อง Qualifiled ต้องมีความรู้ความสามารถในการทำงาน การแก้ปัญหา  มีความสนใน ใส่ใจ และพร้อมที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา และสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
  6. มีการจดรายละเอียดในการประชุม เพื่อศึกษา ค้นคว้า ทบทวน จดจำ เพื่อปรับปรุงงาน และดำเนินการตามที่ได้ข้อตกลงในที่ประชุม
  7. สำคัญที่สุดคือ การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ หรือเป็นช่วงเวลา ยิ่งมีทีมย่อยที่จะต้องประสานกัน เพื่อผลสำเร็จขององค์กรซึ่งเป็นทีมใหญ่

ปิยะวุฒิ  อนุอันต์

6 thoughts on “การสร้างทีมงานที่ดี

  1. การทำงานเป็นทีม
    การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ทุกคนในทีมจะต้องทำงานร่วมกัน โดยมีเป้าหมายชัดเจน มีความไว้วางใจให้กัน การมีภาวะผู้นำ การจูงใจ ให้ความสำคัญกับการติดต่อสื่อสาร การมีความคิด สร้างสรรค์ ประสานงานประสานคน ประสานประโยชน์ของส่วนรวม ไม่บ่มเพาะปัญหา ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ดูดายให้การช่วยเหลือ เมื่อคนในทีมประสบปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ

  2. การสร้างทีมงานที่ดี
    การสร้างทีมงาน มีความหมายมากกว่าการทำกิจกรรมทำงานร่วมกัน หรือมากกว่าการพัฒนาทีม แต่เป็นการกระทำของผู้นำหรือหัวหน้าทีม ในการดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะปัจเจกบุคคลและสมาชิกของทีม ส่งเสริมการนับถือ และการยอมรับในการทำคุณประโยชน์ของกันและกันให้ทุกคนมีส่วนร่วม ให้ความอิสระในการตัดสินใจในทิศทางและเป้าหมายของทีมตลอดทั้งความประสงค์ในผลลัพธ์ร่วมกัน

    ความคาดหวังของการสร้างทีมงาน ก็คือ หัวหน้าจะส่งเสริม “ความเป็นเจ้าของ” ในกิจกรรม หรือโครงการที่พวกเขาได้ร่วมกันทำงาน หากความเป็นเจ้าของไม่เกิดขึ้น ความผูกพันต่อความสำเร็จจะหายไป คนในทีมต้องตกลงร่วมกันในการทำงาน แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน และ มุ่งมั่นที่จะทำงานที่ได้ตกลงแล้วให้สำเร็จ แต่ตรงกันข้ามหาก คนในทีมไม่ยอมรับว่างานที่ได้หรือโครงการที่ทำอยู่ไม่ใช่ของเขา ความผูกพันในเรื่องความสำเร็จก็จะน้อยลงหรือ หมดไป เพราะการดูดาย หรือละเลยกับการปฏิบัติ

    การสร้างทีมงาน เป็นการรวบรวมและบูรณาการความสามารถของแต่ละคนในทีม เป็นพลังสร้างสรรค์ให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างเร็ว และมีประสิทธิภาพ การสร้างทีมงานเป็นโอกาสทองของหัวหน้างานในการดึงศักยภาพ ภาวะผู้นำ ความสามารถพิเศษของคนในทีมที่ยังไม่ได้ถูกพัฒนาและดึงมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

    (วิลเลี่ยม เจมส์ (William James) กล่าวว่า โดยปกติคนเราจะใช้ความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ เพียง 20-30% แต่ถ้ามีการใช้การจูงใจ คนก็ใช้ศักยภาพหรือความสามารถของตนในการทำสิ่งนั้น 80-90%

    การสร้างทีมงานได้ดี หัวหน้าทีม ความที่จะเห็นถึงความสำคัญของความหลากหลาย พัฒนาความหลากหลายให้เกิดขึ้น เชื่อว่า หน่วยงานที่มีความหลากหลายจะเข็มแข็งกว่า ปรับตัวได้ดีกว่า การตัดสินใจก็มีคุณภาพมากกว่า เพราะความเห็นที่หลากหลายจะทำให้มีทางเลือกมากขึ้น

  3. การสร้างทีมงานที่ดี

    การสร้างทีมงานที่ดี จะต้องอาศัยพฤติกรรมของสมาชิกในองค์กร ซึ่งมีขั้นตอนการสร้างทีมงานดังนี้
    1. สรรหาผู้นำทีม ความเป็นผู้นำทีมที่ดีต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกมีอิสระในการรวมทีม
    2. สมาชิกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการรับรู้ ยอมรับกันในเรื่อง การกำหนดทิศทางที่ชัดเจน กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบตามความรู้ความสามารถ กำหนดวิธีการทำงาน มาตรฐานงาน เกณฑ์การวัดผลประเมินผลการปฏิบัติงาน
    3. การสื่อสารที่ดี เปิดเผย ไม่ซ่อนเร้น จริงใจ
    4. จัดสร้างระบบความเชื่อถือไว้วางใจ การรักษาความลับ การทำตามที่พูด การมีความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ การเสียสละ และอดทน
    5. สร้างบรรยากาศที่เอื้อในการแสดงออกซึ่งความคิดที่สร้างสรรค์ เช่นสภาพแวดล้อมที่ดี มิตรภาพที่มีต่อกันของสมาชิก มีการสนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกันผู้นำมีหลักธรรมในการบริหาร (ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
    6. การประเมินผลงานเป็นการประเมินผลงานของกลุ่ม มีความยุติธรรม

  4. “A team is a group of people with different abilities, talents, experience, and backgrounds who have come together for a shared purpose. Despite their individual differences, that common goal provides the thread that defines them as a team”

    “ทีม คือกลุ่มคนที่มีเป้าหมายเดียวกัน แต่มีความสามารถ พรสวรรค์ ประสบการณ์ และภูมิหลังที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะมีความแตกต่างกัน แต่เป้าหมายที่มีร่วมกันนั้นบ่งบอกถึงความเป็นทีม”

    “Consider how incredibly difficult it would be to think of a new product idea or design changes to a process and then implement those ideas and changes all by yourself. No matter how smart you are, the different expertise, experience, energy, and perspectives of others make things happen. A smart team knows how to make differences work”

    “พิจารณาดูว่า จะยากเย็นแค่ไหนหกคุณต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเอง ตั้งแต่คิดหาผลิตภัณฑ์ใหม่ รูปแบบที่แตกต่าง ไปจนถึงกระบวนการทำงาน และยังต้องทำให้แนวคิดที่คิดมาออกมาเป็นผลงาน และถึงแม้คุณจะเก่งกล้า สามารถ ก็ยังต้องอาศัยความแตกต่าง ความชาญ ประสบการณ์ พลังและมุมมองที่แตกต่างของผู้อื่นเพื่อให้งานสำเร็จ ทีมงานที่ยอดเยี่ยมจะรู้ว่าจะใช้ความแตกต่างในการทำงานได้อย่างไร”

  5. การทำงานเป็นทีม

    “มาร่วมกันคือจุดเริ่มต้น อยู่ด้วยกันคือความก้าวหน้า และทำงานด้วยกันคือความสำเร็จ”

    สมาชิกในทีมทุกคนต้องทำงานร่วมกัน แต่ละคนต้องทำหน้าที่ของตนและรับผิดชอบในหน้าที่นั้นๆ สมาชิกในทีมมีหน้าที่ช่วยให้ทีมพัฒนา โดยใช้เป้าหมาย ระเบียบปฏิบัติเป็นหลักในการทำงาน ไม่ว่าเรื่องธรรมดา หรือเรื่องใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อน นอกจากนั้นทีมจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกัน การเสนอความคิดอย่างลื่นไหล มีการหารือถึงวิธีการที่สร้างสรรค์ กล้าที่จะนำเสนอ และพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงออกอย่างเสรี เมื่อเสนอแล้วก็ต้องร่วมกันพิจารณาทางเลือกที่ที่สุด เพื่อหามติเอกฉันท์ การขัดแย้งจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ให้ถือเสมือนว่า เป็นโอกาสในการหาสิ่งใหม่ ฝึกฝนทักษะที่แตกต่างกัน และพัฒนาทักษะในการทำงานร่วมกันเพื่อความสำเร็จของทีม

  6. การจะทำงานสำเร็จได้ก็ด้วยการยอมรับว่าเราคือทีมเดียวกัน อยากบอกให้ทุกคนในทีมว่า we cant not spell the word S.CCESS without you

Leave a Reply

Your email address will not be published.

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.