All posts by piyawoot

ขอแสดงความยินดี ดร.ปิยะวุฒิ อนุอันต์

พิธีรับประทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ณ หอประชุมเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558

งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของ คณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

ชื่อเรื่อง                   การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของ

คณะกรรมการสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

ผู้วิจัย                      ปิยะวุฒิ    อนุอันต์

อาจารย์ที่ปรึกษา        ดร.พา    อักษรเสือ

ดร.โกศล   ศรีสังข์

ดร.ยุราวดี   มุทุกันต์

ปริญญา                   ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ( ปร.ด. )                      สาขาวิชา    การบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัย            มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ               ปีที่พิมพ์     2556

 

 

บทคัดย่อ

 

     วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1   2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1  มีขั้นตอนการวิจัยทั้งหมด 6 ขั้นตอนคือ  1) กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยจากการศึกษา ทบทวนวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  2) ศึกษาสภาพ การดำเนินงานโดยใช้แบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง  240  คน ที่ เลือกเจาะจงจาก  163 โรง และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างบุคลากร 12 คน จาก 3 โรงเรียนที่เป็น Best Practice  3) ร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา  4 ) นำเสนอต่อที่ประชุมสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญ  10  คน เพื่อขอคำแนะนำตรวจสอบยืนยัน 5) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่า มีความเหมาะสม  ความมีประโยชน์และความเป็นไปได้อยู่ในระดับใด 6 )สรุปและเขียนรายงานการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  ด้านที่มีส่วนร่วมสูงสุดได้แก่  การส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม รองลงมาคือ การวางแผน  กำหนด วิสัยทัศน์ เป้าหมายและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรสถานศึกษาและด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุดคือด้านการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ต่างๆ
  2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ที่ว่า “  ภายในปี พ.ศ. 2560  ผู้บริหาร ครู บุคลากรด้านการศึกษา    คณะกรรมการสถานศึกษา   ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย มีความเข้าใจ และตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกฝ่ายในการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการสถานศึกษา ”   ภายใต้วิสัยทัศน์นี้ รูปแบบยังประกอบด้วย กระบวนการมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอน 6  พันธกิจ   5  เป้าประสงค์  12 องค์ประกอบ/กิจกรรม

           

 

Abstract

TITLE              Developing a Model for School Committee’s Participation in the Administration of Academic Work under Khon Kaen Office of Primary Educational Service Area 1

AUTHOR         Piyawoot  Anu-an

ADVISORS     Dr. Pha  Agsonsua

Dr. Koson  Srisang

Dr. yurawadee  Muthukan

DEGREE         Ph. D.                                                     MAJOR              Educational Administration

UNIVERSTIY   North Eastern                                      YEAR                   2013

 

ABSTRACT

 

This objectives of this research were  1) to study the practice of school committee’s participation in the administration of academic work under Khon Kaen Office of Primary Educational Service Area (KOPESA) 1 and 2) to develop a model for school committee’s participation in the administration of academic work under the same service area. The research was conducted in 6 steps as follows : 1) formulation of conceptual framework by a review of related literature and researches; 2) study of the practice by using 5-level rating scale questionnaires asking 260 samples in 163 schools as well as interviewing 12 key informants of 3 best practice schools; 3) drafting the desired model ; 4)  review of the draft model by a focus group discussion of 10 experts; 5) assessment of the revised model by selected stakeholders in order to ascertain its appropriateness, usefulness and feasibility; and 6) conclusion and report.

The research findings were as follows :

  1. On the whole the practice of school committee’s participation in the administration of academic work under KOPESA 1 was rated high. By aspects, participation in promoting teachers’ continuing further study to develop their instructional skills was the highest practice, followed by participation in planning, formulating the school’s vision and objectives as well as desirable characteristics of students. Participation in determining the structure and content of  the curriculum.
  2. The model for school committee’s participation in the administration of academic work under KOPESA 1 starts with a statement of vision, “By B.E. 2560 administrators, teachers, educational personnel, school committee realize their respective responsibilities to participate in the administration of the school committees.” Under this vision, the model consists of 6 participatory steps, 6 mission statements, 6 objectives and 12 activity components.

การทำงานเป็นทีม

การทำงานเป็นทีม
มีผลดีต่อสมาชิกแต่ละบุคคลในทีมด้วยเหตุผล 3 ประการ

  1. ทีมงานเป็นการรวมเอาทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุด ขององค์การเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถปฏิบัติงานที่บุคคลคนเดียวทำไม่ได้ (งานทุกงานจะลำบากมากหากใช้คนคนเดียว)  เพราะนอกจากจะได้แรงกายแรงใจเพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะได้ความคิดหลายแง่หลายมุมมาผสมผสานกัน ทำให้ศักยภาพแฝงที่แต่ละคนมีถูกนำมาใช้มากขึ้น
  2. ทีมงานทำให้มีการมอบหมายให้สมาชิกรับผิดชอบงานเพื่อปฏิบัติตามความถนัดและความเชี่ยวชาญ และความพอใจของแต่ละคน เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันยังผลให้แต่ละคนมีโอกาสสร้าง หรือพัฒนาความสามารถด้านอื่นๆ ให้ดีขึ้น โดยการเรียนรู้จากสมาชิกผู้ร่วมงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  3. ทีมงานช่วยให้สมาชิกแต่ละคน ได้รับการตอบสนองความต้องการทางสังคม อันได้แก่ ความรัก และการยอมรับซึ่งกันและกัน (ความต้องการขั้นที่ 4 ของ มอสโลว์) อันนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตการทำงานในที่สุด

หากพิจารณาในภาพรวม จะพบว่าการสร้างทีมงาน หรือการทำงานเป็นทีม ช่วยทำให้องค์การสามารถรวมพลังในการปฏิบัติงาน งานที่ยากลำบากเพียงใดก็สามารถประสบผลสำเร็จได้ได้ไม่ยากนัก(นิ้วเดียวไหนเลยจะทำให้มือมีแรง) เมื่อผลงานได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น (ทั้ง คุณภาพดีขึ้น ปริมาณมากขึ้น) ก็ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ผลประโยชน์จึงตกอยู่กับองค์กรและสมาชิกขององค์กร สอดคล้องกับหลักการที่ว่า “เมื่อองค์การอ้วน หรือเติบโต คนในองค์การก็ต้องย่อมอ้วน หรือเติบโตด้วย แต่หากองค์การยากไร้ หรือผอม คนในองค์กรก็ย่อมจะทุกข์ยาก หรือผอมตามไปด้วย”