การพัฒนาทีมงาน

การพัฒนาทีมงาน

ความสำเร็จของการพัฒนาทีมงาน เป็นผลมาจากผู้นำทีมเป็นสำคัญ ผู้นำทีมต้องมีประสิทธิภาพ เก่งคิด เก่งคนเก่งงาน มีการทำความเข้าใจกับลักษณะของทีม เข้าใจบุคลิกลักษณะของสมาชิกในแต่ละคน วัฒนธรรมขององค์กร ของทีม ความยึดเหนี่ยวของทีม การจัดการความขัดแย้งของทีม รวมตลอดถึงขั้นตอนในการสร้างและพัฒนาทีมงาน

ทีมงานมักขัดแย้งอันเนื่องจากความจำกัดของทรัพยากร ความรับผิดชอบ การสื่อสารที่ผิดพลาด ความขัดแย้งในเป้าหมาย ความแตกต่างกันของบุคลิกภาพของสมาชิก การไม่ยอมรับ หรือไม่เปิดรับกันและกัน  นั่นคือสิ่งที่ท้าทายความยิ่งใหญ่ของผู้นำทีมสู่ความเป็นสากล

 

ปิยะวุฒิ อนุอันต์

การศึกษา

  • ศศบ.รัฐศาสตร์ เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • บธ.ม. (การจัดการ) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กำลังศึกษา ระดับปริญญาเอก ด้านการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประวัติการทำงาน

  • ผู้จัดการ บมจ.เงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ สาขายนรราชสีมา
  • เจ้าหน้าที่การตลาดอาวุโส บมจ.สยามพาณิชย์ลิชซิ่ง สาขาขอนแก่น
  • หัวหน้าสาขาการจัดการ  วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ

ปัจจุบัน

  • ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ขอนแก่นแหอวน
  • วิทยากร ประจำสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 6  ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดอุดร เทศบาลตำบลหนองแก เทศบาลตำบลท่าพระ  บริษัท อุดรนำธงชัย จำกัด บริษัทศรีไทยใหม่ จำกัด  ธนาคารอาคารสงเคราะห์สาขาขอนแก่น  บิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาขอนแก่น ฯลฯ
  • อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ วิทยาเขต สกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีมหาวิทยาลัยเชียงราย หลักสูตร การสร้างและพัฒนาทีมงาน  กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์  ภาวะผู้นำ  การพัฒนาบุคลิกภาพ  มนุษย์สัมพันธ์การวัดผลการประเมินผล COMPETENCY ฯลฯ

 

การสร้างทีมงานที่ดี

การสร้างทีมงานที่ดี

ในภาวการณ์ปัจจุบัน คงไม่มีใครที่ไม่ยอมรับว่า การทำงานเป็นทีมนั้นดี เพราะการทำงานเป็นทีมเป็นการนำ ความรู้ความสามารถของที่แตกต่างกันมาผสมผสานให้ทีมมีความสมบูรณ์ สามารถดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

การทำงานเป็นทีมที่ดี จะต้องดึงศักยภาพของคนในทีมออกมาเป็นพลังความคิด พลังกาย พลังความมุ่งมั่น  เพื่อให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร อาจจะเรียกได้ว่า “หลากหลายความรู้หลายหลายความสามารถ”  ไม่มีใครสมบูรณ์ที่สุด ไม่มีใครดีที่สุด เราทำงานคนเดียวไม่ได้เพราะความยากง่ายของงานประการหนึ่ง ความซับซ้อนของงานประการหนึ่ง  ความเกี่ยวเนื่อง หรืองานมีส่วนเกี่ยวข้องกันประการหนึ่ง และที่สำคัญ เราต้องทำงานกับคนที่ที่มีความแตกต่างกันทั้งความรู้ความคิด ภูมิหลัง  ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ทั้งในหน่วยงานเดียวกันและต่างหน่วยงาน การสร้างทีมงานที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

การสร้างทีมงานที่ดีได้นั้น ทีมต้องมีองค์ประกอบของการทำงานที่สำคัญคือ ความพอใจในงาน  ความรักในงาน  การอุตสาหะในงาน การตริตรองงาน การมีเป้าหมายร่วมกัน ถ้าเป็นไปได้เป้าหมายคุณ เป้าหมายผม เป้าหมายองค์กร เป้าหมายลูกค้าเป็นเป้าหมายเดียวกัน ความสำเร็จของทีมน่าจะไม่ไกลเกินจริง  เพราะทุกคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความเข้าอกเข้าใจ การเสียสละ และความมุ่งมั่นของทีมจะทำให้ทุกคนไปถึงเป้าหมาย แต่นั้นก็ตาม การที่ทุกคนจะไปในแนวทางเดียวกัน การสื่อสารก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ กำจัดอุปสรรคของการสื่อสารให้หมดไปหรือให้น้อยที่สุดให้ได้ การสร้างทีมงานที่ดีจะเกิดขึ้น

การสร้างทีมงานที่ดี ได้นั้น บรรยากาศในหน่วยงานต้องอบอุ่น มีความเป็นมิตร ถือหลักเหตุหลักผล ถือประโยชน์ของส่วนร่วมมากว่าส่วนตน การยอมรับความสามารถของกันและกันเชื่อในศักยภาพของแต่ละบุคคล เก่งมากกว่ากัน เก่งน้อยเก่งมาก  ไม่สำคัญ ทุกคนสามารถพัฒนาได้

การสร้างทีมงานที่ดี ภาวะผู้นำของคนในทีม มีส่วนผลักดันให้ทีมมีความเข็มแข็ง การผลัดเปลี่ยนการเป็นผู้นำ การให้โอกาสสำหรับคนในทีมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ จะพัฒนาให้สมาชิกในทีมมีความเชี่ยวชาญ และความรู้ในงานมากขึ้นเป็นลำดับ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดการฝึกทักษะ ซึ่งจะมีผลดีต่อการสร้างทีมที่เราทุกคนมุ่งหวัง

การสร้างทีมงานที่ดี

          เราจะสร้างทีมงาน(ที่ดี) ให้เกิดประสิทธิผลได้อย่างไร นักวิชาการ และผู้รู้ ยืนยันหรือพูดเสียงเดียวกันว่า ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 สิ่งด้วยกัน สิ่งแรก ก็คือ ผู้นำ และผู้นำที่จะสร้างทีมงานที่ดี และมีประสิทธิผลนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียบพร้อม มีวิจารณญาณ และตัดสินใจ รวมทั้งบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ  สิ่งที่สอง ที่จะ สร้างให้ทีมงานที่ดีได้ คือ กฎเกณฑ์ในการทำงาน (Ground Rules) อันว่ากฎเกณฑ์ ในการทำงานนี้ ก็ต้องมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะ ความเหมาะสมขององค์ประกอบของทีมงาน ซึ่งได้แก่ จำนวนคน ภูมิหลังของแต่ละคน  ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่สมาชิกได้สะสม หรือผ่านมา เป็นต้น
          การสร้างทีมงานที่ดี นอกจากที่กล่าวข้างต้นส่วนที่สนับสนุนให้ทีมมีความแข็งแกร่งมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้
  1. ช่วยให้มี Time Control สมาชิกของทีมจะต้องสามารถบอกได้งานของตนจะแล้วเสร็จเมื่อไร โดยเฉพาะการแก้ปัญหาที่แต่ละคนพบจากการทำงาน
  2. สมาชิกในทีมต้องไวต่อความรู้สึก ของเพื่อนร่วมงาน สามารถรู้อากัปกิริยาที่แสดงออก ว่าเพื่อนสมาชิกต้องการอะไร พอใจหรือไม่พอใจ รู้นิสัยใจคอ ซึ่งจะช่วยให้ลดปัญหาความเข้าใจผิด เกิดความเข้าใจอันดี สร้างความไว้วางใจ
  3. บรรยากาศทำงานที่ผ่อนคลาย Relaxed Atmosphere ไม่เคร่งเครียด การทำงานเป็นแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย หลีกเลี่ยงการติดต่ออย่างเป็นทางการ เน้นความเป็นพี่เป็นน้อง ซึ่งมีผลในการติดต่อสื่อสารการประสานงาน ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการสร้างทีมงานที่ดี
  4. ทุกคนต้องมีข้อมูล ต้องเตรียมข้อมูล โดยเฉพาะหากต้องมีการประชุม (ทำการบ้านเป็นอย่างดี) ทั้งนี้เพื่อนำมาแลกเปลี่ยน นำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนและตัดสินใจของทีมงาน ดังนั้นทุกคนต้องรู้สำนึกรับผิดชอบหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่
  5. ต้องคัดคนที่มีคุณภาพเข้าทีม เรียกว่าสมาชิกต้อง Qualifiled ต้องมีความรู้ความสามารถในการทำงาน การแก้ปัญหา  มีความสนใน ใส่ใจ และพร้อมที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา และสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
  6. มีการจดรายละเอียดในการประชุม เพื่อศึกษา ค้นคว้า ทบทวน จดจำ เพื่อปรับปรุงงาน และดำเนินการตามที่ได้ข้อตกลงในที่ประชุม
  7. สำคัญที่สุดคือ การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ หรือเป็นช่วงเวลา ยิ่งมีทีมย่อยที่จะต้องประสานกัน เพื่อผลสำเร็จขององค์กรซึ่งเป็นทีมใหญ่

ปิยะวุฒิ  อนุอันต์